บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

อ่านตรงนี้ก่อน

บทความนี้ เน้นการเขียนไปที่การเขียนบทความเชิงวิชาการสำหรับนักศึกษาที่เรียนรายวิชาภาษาไทย 1 และภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

อย่างไรก็ดี  เพื่อนครูอาจารย์ที่ต้องการหัดเขียนบทความก็สามารถเรียนรู้จากบทความชุดนี้ได้

บทความเป็นงานเขียนเชิงวิชาการประเภทหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาไม่มากนัก ต้องการที่จะนำเสนอ “แนวคิด” ที่เฉพาะเจาะจง

การที่เราจะเขียน “อะไร” ออกมาได้นั้น  เราจะต้อง “รู้” และ “เข้าใจ” ในสิ่งที่เราจะเขียนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

การเป็นนักศึกษาที่ถูกบังคับให้เขียนบทความวิชาการตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ ผมจึงกำหนดขอบเขตไว้ว่า “ต้องเป็นบทความที่มีเนื้อหาอยู่ในขอบข่ายของสาขาที่นักศึกษาเรียนอยู่”

ถึงแม้จะต้องเขียนบทความที่นักศึกษา “รู้” อยู่พอสมควรแล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นการเพียงพอ นักศึกษาจะต้องอ่านเพื่อหา “ข้อมูล” ที่เกี่ยวกับเรื่องจะเขียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ผมกำหนดให้นักศึกษาจะต้องมีบรรณานุกรมอย่างน้อย 20 เล่ม  นักศึกษาก็ควรจะอ่านเอกสารต่างๆ อย่างน้อย 40 เล่มขึ้นไป

เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว นักศึกษาก็ควรบันทึกข้อมูลให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน เมื่อนำไปใช้ในการเขียนบทความแล้ว  สามารถจะที่เขียนเชิงอรรถอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนั้นแล้ว ก็ควรจะมีเชิงอรรถโยงความ และเชิงอรรถขยายความบ้าง  เพราะ การที่บทความของเรามีเชิงอรรถครบทั้ง 3 ประเภท เป็นการแสดงให้ผู้อ่านทราบว่า นักศึกษามีองค์ความรู้ในการเขียนบทความที่ดี ซึ่งควรจะได้คะแนนในระดับสูงด้วย

ในบทความต่อๆ ไป  ผมจะแนะนำการเขียนบทนำ เนื้อหา สรุป พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบคำอธิบาย  เพื่อที่ว่า ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ในการเขียนบทความของท่านทั้งหลายได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น